กองทุนส่วนบุคคล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเภทกองทุนและนโยบายการ
ลงทุนของกองทุนส่วนบุคคล จุฬาฯ

> ผลตอบแทนจากการลงทุน
> แนวทางเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสรรเงินลงทุน

ปฏิทินการลงทุน

ขั้นตอนการทำรายการ

> การเปิดบัญชี
> การทำรายการลงทุน
> แบบบันทึกข้อความ สำหรับการปฏิบัติงานกองทุนส่วนบุคคลจุฬาฯ

แนวปฏิบัติสำหรับการลงทุน

แนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี

ระบบลงทุน Online Trading

  • ประกาศ NAV
  • หนังสือยืนยันยอดหน่วยลงทุน
  • ประวัติการจ่ายเงินปันผล
  • รายงานการจ่ายเงินปันผล
  • รายงาน Fund Fact Sheet


   


การจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation)

ทำไมต้องจัดสรรเงินลงทุน?

  • เพื่อการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากสินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจแตกต่างกันไป
  • เพื่อสร้างหรือรักษาอัตราผลตอบแทนในระดับที่คาดหวัง

ตัวอย่างผลกระทบและความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการจัดสรรเงินลงทุน

1. วัตถุประสงค์การลงทุน
2. ระยะเวลาในการลงทุน
  - โดยทั่วไปแล้วการลงทุนในระยะยาว มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนระยะสั้น
- หากส่วนงานลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสมกับระยะเวลาที่จะนำเงินไปใช้ จะสามารถเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุนได้
3. อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  - การลงทุนในตราสารหนี้ มีผลตอบแทนที่แน่นอน และสม่ำเสมอ
- การลงทุนในตราสารทุน แม้จะมีความเสี่ยงด้านความผันผวนของผลตอบแทน แต่ในระยะยาวโดยเฉลี่ยมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้
4. ข้อจำกัดการลงทุน เช่น ความต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น ข้อกำหนด/ข้อบังคับพิเศษตามข้อกำหนดเฉพาะของส่วนต่างๆ


แนวทางเบื้องต้นในการจัดสรรเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล จุฬาฯ

เงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน
  - ควรมีสัดส่วนน้อยที่สุด ควรสำรองไว้เพื่อใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
- หากวางแผนการใช้เงินเป็นรายสัปดาห์หรือรายวันได้อาจจัดสรรบางส่วนมาลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล จุฬาฯ เพื่อการบริหารสภาพคล่อง (LQ) ได้บางส่วน เนื่องจากสามารถซื้อขายได้ทุกวัน ซึ่งจะทำให้การเบิกถอนใกล้เคียงกับการฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน

หากคณะ/ส่วนงานสามารถจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 1 ปี จะเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นโดยการลงทุนดังนี้
  - กองทุนส่วนบุคคล - ตราสารหนี้ระยะกลาง (MFIXED)
- กองทุนส่วนบุคคล - ทุนคงยอดเงินต้น (PP)
- กองทุนส่วนบุคคล - กองทุนผสม (FLEX)
- ตราสารเงิน/เงินฝาก กับธนาคารที่มีระยะยาวกว่า 1 ปี

- พันธบัตร/หุ้นกู้ที่มีคุณสมบัติตามประกาศเรื่องนโยบายการลงทุนของจุฬาฯ

ศูนย์วิเคราะห์รายได้และปฏิบัติการลงทุน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 2 ชั้น 2
โทรศัพท์ 02 218 3217-9 , 02 218 3271-5 Email : ric@chula.ac.th
http://www.ric.chula.ac.th